|
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2534 โดยภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
ได้ทำการเรียนการสอนเกี่ยวกับการวางแผน ออกแบบ ติดตั้ง ควบคุมและปรับปรุงงานทางด้านอุตสาหกรรม
ซึ่งประกอบด้วยคน กระบวนการ วัสดุและเครื่องจักร เพื่อผลิตสินค้าและบริการ
โดยเน้นประสิทธิภาพ คุณภาพ และความประหยัด หัวข้อการศึกษาประกอบด้วย การออกแบบวางผังโรงงาน
การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การควบคุมคุณภาพของการผลผลิต การลดต้นทุนการผลิต
วิศวกรรมความปลอดภัย การวิจัยดำเนินการ รวมทั้งการวิเคราะห์คุณสมบัติของวัสดุและโลหะต่าง
ๆ เพื่อให้สามารถเลือกใช้วัสดุในแต่ละงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
 
สาขาวิชาทางวิศวกรรมอุตสาหการ หลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการแบ่งออกเป็น 4
สาขาหลักตามลักษณะของวิชาการทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการ ดังนี้ 1.) วิศวกรรมอุตสาหการพื้นฐาน (Basic Industrial
Engineering) ประกอบด้วยวิชาพื้นฐานต่าง ๆ ทางวิศวกรรมอุตสาหการ
เช่น งานโรงงาน วัสดุศาสตร์เบื้องต้น งานโลหะวิทยาพื้นฐาน พื้นฐานด้านการผลิต
เป็นต้น 2.) การจัดการงานอุตสาหกรรม (Industrial
Management) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการการผลิต
การวางแผนและควบคุมการผลิต การควบคุมคุณภาพ การวางแผนงาน การวางผังโรงงาน
การออกแบบขั้นตอนการทำงานและกระบวนการผลิต
การบริหารความปลอดภัยในโรงงาน 3.)
โลหะวิทยาและวัสดุศาสตร์ (Metallurgy and Material Science)
เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับโลหะวิทยาและวัสดุศาสตร์ คุณสมบัติของโลหะและวัสดุ
กรรมวิธีการผลิต และการปรับปรุงคุณสมบัติของวัสดุ 4.) วิศวกรรมการผลิต (Manufacturing Engineering)
ประกอบด้วยการควบคุมและการทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ
การผลิตด้วยเครื่องจักรสมัยใหม่ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ (CNC)
การออกแบบสร้างแม่พิมพ์ในการขึ้นรูปโลหะและพลาสติก การออกแบบระบบการส่งกำลัง
และการขนถ่ายวัสดุในการผลิตด้วยระบบไฮโดรลิกและนิวเมติก เป็นต้น
ห้องปฎิบัติการ แบ่งออกเป็น 4
กลุ่มตามสาขาวิชา ดังนี้ 1.)
ห้องปฎิบัติการวิศวกรรมอุตสาหการพื้นฐาน 2.)
ห้องปฎิบัติการการจัดการงานอุตสาหกรรม 3.)
ห้องปฎิบัติการโลหะวิทยาและวัสดุศาสตร์ 4.)
ห้องปฎิบัติการวิศวกรรมการผลิต
การบริหารงาน
การบริหารงานของภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ แบ่งออกเป็น 5 ฝ่าย ดังนี้
1.) ฝ่ายวิชาการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานทางด้านตารางสอน
ข้อสอบ หลักสูตร เอกสารประกอบการสอน บริการวิชาการ การฝึกงาน ดูงาน ทุน
2.) ฝ่ายกิจการนักศึกษา ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานทางด้านกิจกรรมนักศึกษา
ประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมอื่น ๆ เกี่ยวกับนักศึกษา
3.) ฝ่ายวางแผนและพัฒนา ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานทางด้านงบประมาณ
อัตรากำลัง ทุนพัฒนาอาจารย์ อบรมดูงาน ประสานงาน กิจการพิเศษ
4.) ฝ่ายพัสดุและครุภัณฑ์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานทางด้านจัดซื้อ
ตรวจติดตามครุภัณฑ์ ซ่อมบำรุง
5.) ฝ่ายบริหาร ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานทางด้านบริหารงานทั่วไป
งานบุคคล
อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา
ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รายการ
|
ภาคปกติ
(บาท)
|
ภาคพิเศษ
(บาท)
|
1. ค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษา
(เก็บครั้งเดียว) |
500
|
1,000
|
2. ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย |
1,800
|
2,500
|
3. ค่าธรรมเนียมการศึกษา
วิชาบรรยาย หน่วยกิตละ |
150
|
750 - 1,500
|
4. ค่าธรรมเนียมการศึกษา
วิชาปฏิบัติการ โครงงานพิเศษ ฝึกงาน/ภาคสนาม หน่วยกิตละ |
450
|
1,500 - 3,000
|
5. ค่าธรรมเนียมการศึกษา
ทุกรายวิชาในภาคฤดูร้อน หน่วยกิตละ |
450
|
2,000
|
6. ค่าธรรมเนียมรักษาสถานภาพการศึกษาทุกกรณี
ภาคละ |
1,000
|
1,000
|
7. ค่าปรับการลงทะเบียนช้ากว่ากำหนด
ครั้งละ |
300
|
300
|
8. ค่าบัตรประจำตัวนักศึกษา
บัตรละ |
100
|
100
|
9. ค่าออกหนังสือรับรองต่าง
ๆ ฉบับละ |
20
|
20
|
10. ค่าขึ้นทะเบียนปริญญาบัณฑิต |
1,000
|
1,000
|
11. ค่าขึ้นทะเบียนอนุปริญญา |
500
|
500
|
12. ค่าหอพักของมหาวิทยาลัย
ภาคละ |
1,500
|
1,500
|
13. ค่าธรรมเนียมการศึกษาพิเศษ
ภาคละ |
-
|
5,000
|
ระบบการศึกษา
เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี
พศ.2534
โดยจัดสอนตามระบบทวิภาค (Semester) ต่อปีการศึกษา
ภาคการศึกษาปกติ มีเวลาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ลงทะเบียนเรียนไม่ต่ำกว่า
10 หน่วยกิต และไม่เกิน 22 หน่วยกิต
ระยะเวลาการศึกษา
ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร คือ 8 ภาคการศึกษาปกติ
นักศึกษาอาจจะศึกษาให้สำเร็จการศึกษาได้ในระยะเวลาน้อยกว่านี้ แต่ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า
6 ภาคการศึกษาปกติ
และอาจจะขยายเวลาการศึกษาออกไปได้ไม่เกิน 8 ปีการศึกษา โดยนับรวมเวลาที่ลาพักการศึกษา
ที่ได้รับอนุมัติตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
|